กฎหมายกับการสร้างโกดังสำเร็จรูป โรงงานสำเร็จรูป ที่ต้องรู้
เอกสารประกอบการขออนุญาตที่คุณจำเป็นต้องเตรียมกับการสร้างโกดังสำเร็จรูป โรงงานสำเร็จรูป
การอยากมีโกดังเก็บสินค้าของตัวเองเป็นความฝันของนักธุรกิจหลาย ๆ คน ที่อยากจะขยายหรือเพิ่มเติมความสะดวกในการเก็บสินค้า บางคนเลือกใช้วิธีการเช่าอาคารพาณิชย์เก็บสินค้า บางคนเลือกที่จะเช่าโกดัง แต่บางคนก็เลือกที่จะสร้างเอง ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องการก่อสร้าง ก็จะมีข้อระเบียบกฎหมายอีกมากมายที่ต้องรู้ก่อนจะทำการก่อสร้าง ไม่ใช่แค่โกดังหรือโรงงาน แต่การสร้างหอพัก คอนโด หรือแม้แต่บ้านของเราก็ต้องดูข้อกฎหมาย เพราะ ถ้าหากเราสร้างแบบไม่ดูข้อกฎหมาย อาจจะถูกสั่งรื้อถอนภายหลังก็เป็นได้
ก่อนอื่นคุณต้องทราบก่อนว่า โรงงานสำเร็จรูป โกดังสำเร็จรูปที่คุณกำลังจะสร้างนั้น อยู่ในพื้นที่ที่อนุญาติให้สร้างได้หรือไม่ ทางที่ดีควรเลือกที่จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแบบเฉพาะทางก่อนที่จะเริ่มลงทุนสร้างโกดังอย่างที่คุณต้องการ ซึ่งกฎหมายสร้างโกดังเป็นส่วนหนึ่งในกฎหมายควบคุมอาคาร เราได้รวบรวมนำมาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโกดังเอาไว้ ดังนี้
อาคารโกดังที่มีความสูงเกิน 2 ชั้น หรือเกิน 8 เมตร จะกำหนดระยะร่นตามเงื่อนไข คร่าว ๆ ระยะห่างจากถนนสาธารณะ โดยวัดจากความกว้างของถนนสาธารณะ 3 ระดับดังนี้
- หากถนนสาธารณะมีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลางถนน อย่างน้อย 6 เมตร
- ความกว้างตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากถนนอย่างน้อย 1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ เช่นกว้าง 10 เมตร ควรร่นเข้ามา 1 เมตร
- เกิน 20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจากถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร
นอกจากที่คุณจะรู้ในข้อกฎหมายของการเว้นพื้นที่ห่างจากถนนสาธารณะแล้ว คุณต้องรู้ในเรื่องของเขตพื้นที่การก่อสร้าง
สามารถสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้ ซึ่งจะเแบ่งออกเป็น 3 ประเภทโดยประมาณได้แก่
- พื้นที่เขต นิคมอุตสาหกรรม
นิคมอุตสาหกรรม หรือ (นอ.) คือ เขตพื้นที่ดินซึ่งจัดสรรไว้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมให้อยู่รวมกันอย่างเป็นสัดส่วน ตัวอ่างเช่น เขอุตสหกรรมนิคมบางปู หรือเขตอุสาหกรรมอมตะนคร ซึ่งในพื้นที่ก็จะประกอบด้วย
• พื้นที่อุตสาหกรรม
• สิ่งอำนวยความสะดวก
• สาธารณูปโภค เช่น ถนน ท่อระบายน้ำ โรงกำจัดน้ำเสียส่วนกลาง ระบบป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้า น้ำประปา ธนาคาร ศูนย์การค้าขนาดเล็ก ที่พักอาศัย สำหรับนักงาน สถานีบริการน้ำมันขนาดเล็ก คือจะมีความสะดวกค่อนข้างครบเลยทีเดียว - เขตอุตสาหกรรม หรือ เขตประกอบอุตสาหกรรม
เขตอุตสาหกรรม หรือ เขตประกอบการอุตสาหกรรม (ขอ.) เป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่ขยายเพิ่มขึ้น ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 การพัฒนาพื้นที่ ต้องได้รับการพิจารณาและประกาศกำหนดเขตประกอบการอุตสาหกรรมจากกระทรวงอุตสาหกรรม สิทธิประโยชน์ที่ได้รับคือได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายโรงงาน - สวนอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม(สอ.)
เป็นที่ดินหรือพื้นที่ส่วนบุคคลที่ถูกพัฒนาขึ้น บริหารหรือจำหน่ายโดยบุคคลธรรมดา
นอกจากเรื่องพื้นที่อุตสาหกรรมแล้ว ความรู้เรื่อง พรบ.โรงงาน (ฉบับพ.ศ. 2535) ต้องทราบก่อนว่าโรงงานที่จะสร้างเป็นโรงงานประเภทใด แบ่งออกหลัก ๆ 3 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1 ประกอบกิจการได้เลยทันที
ประเภทที่ 2 ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนประกอบกิจการ
ประเภทที่ 3 ต้องได้รับใบอนุญาตก่อนประกอบกิจการ หรือใบ รง.4
(คือเอกสารการขออนุญาตอุตสาหกรรมจังหวัดและมีเอกสารบางส่วนต้องประสานกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่)
เมื่อคุณทราบว่าโรงงานที่จะสร้างเป็นโรงงานประเภทใดแล้วจึงจะพิจารณาข้อกฏหมายอื่นต่อไป
ข้อแรก : เริ่มจาก ข้อบัญญัติ เทศบัญญัติของท้องถิ่น การประกอบกิจการที่เป็นอันตราย ตาม พรบ.สาธารณสุข 2535 ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเป็นการเอาเอกสารโครงสร้างมาวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวล้อม เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใช้ในการประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการ โดยชุมชุมต้องผ่านการเห็นชอบด้วย และต้องทำEIAโดยภาครัฐเท่านั้น
ข้อสอง : พิจารณาในส่วนของ พรบ.ผังเมืองของพื้นที่ ที่คุณจะทำการสร้างโกดัง ซึ่งต้องพิจารณาควบคู่ไปกับข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติของท้องถิ่น หากในผังเมืองห้ามตั้งอาคารโรงงานประเภทที่จะสร้างก็จบตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มไม่สามารถขออนุญาตสร้างได้ ซึ่งก็ต้องพิจารณาประกอบกับ พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฏกระทรวงที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
ในส่วนหน้าที่พรบ.ผังเมือง จะกำหนดเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาเมืองในอนาคต และการกำหนดแนวทางการก่อสร้าง และยังต้องคำนึงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน ความปลอดภัย สวัสดิภาพของสังคม สิ่งแวดล้อม โดยการแบ่งเป็นโซนผังพิ้นที่สีต่างๆ และจะมีการปรับปรุงแก้ไขตามประกาศผังเมืองของแต่ละจังหวัดให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศอีกด้วย
พรบ.ควบคุมอาคาร หรือกฎหมายควบคุมอาคาร เป็นกฎหมายมหาชน ที่จำเป็นต้องมีเพื่อรักษาประโยชน์ ความสงบสุข และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการก่อสร้าง และสังคม โดยเน้นเรื่องที่เกี่ยวแก่การปลูกสร้างอาคาร สร้างโรงงานสำเร็จรูป สร้างโกดังสำเร็จรูป โดยกำหนดขนาดประเภทและชนิดอาคาร อัตราส่วนอาคารต่อพื้นที่ ระยะร่น ระยะห่างจากถนนสาธารณะ ระยะร่นจากแหล่งน้ำสาธารณะ เป็นต้น เพื่อรักษาความเรียบร้อยของชุมชน
ผังสีในการกำหนดเขตก่อสร้าง ตัวอย่างในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ถูกแบ่งออกเป็น 9 สี ซึ่งในความหมายของพื้นที่แต่ละสีตามกฎหมายถูกแบ่งไว้อย่างชัดเจนแล้วว่าพื้นที่สีอะไรควรก่อสร้างสิ่งใด เช่น โรงงานสารเคมี ไม่ควรใกล้แหล่งชุมชน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นต้น
- เขตพื้นที่สีเหลือง
คือ เขตพื้นที่ห่างจากการอยู่อาศัย หรือมีการอยู่อาศัยประเภทบ้านพักหรือชุมชนในปริมาณที่น้อยครัวเรือน ถือเป็นเขตพื้นที่ที่สนับสนุนให้พัฒนา อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ สำนักงาน สถานสงเคราะห์เลี้ยงสัตว์ โรงแรม สถานพยาบาล สถานศึกษา หรือที่อยู่อาศัย - เขตพื้นที่สีส้ม
เขตพื้นที่สีส้มนี้ จะมีปริมาณชุมชนการอยู่อาศัยหนาแน่นขึ้นอีกระดับ สามารถก่อสร้างได้เหมือนกับพื้นที่สีเหลืองทุกอย่าง แต่ข้อกำหนดที่แตกต่งอย่างเดียวคือ ห้ามก่อสร้างสถานสงเคราะห์สัตว์เลี้ยง - เขตพื้นที่สีน้ำตาล
เป็นเขตที่มีประชากรอาศัยจำนวนมาก พื้นที่โซนนี้จะเหมาะสำหรับการก่อสร้าง บ้านพักอาศัย ทาวน์เฮ้าส์ อาคารชุด - เขตพื้นที่สีแดง
เขตพื้นที่สีนี้ เป็นเขตประเภทพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก สามารถใช้ทำประโยชน์เพื่อ การพาณิชกรรม เพื่อการอยู่อาศัย สถาบันราชการ ห้ามก่อสร้างกิจการโรงแรม สุสาน หรือว่าขนส่ง - เขตพื้นที่สีม่วง
เขตพื้นที่สีม่วงนี้ เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า เหมาะกับผู้ที่อยากก่อสร้างโกดัง หรือโรงงานสำเร็จรูป หากใครที่ต้องการอยากจะสร้างคลังสินค้า ต้องก่อสร้างในพื้นที่เขตสีม่วง และไม่ต้องกังวลว่าจะสร้างรุกพื้นที่เขตสีอื่นๆ คุณสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ทันที - เขตพื้นที่สีม่วงอ่อน
เขตพื้นที่สีม่วงอ่อนนี้ หรือเขตพื้นที่ อ.๓ จะสนับสนุนให้สร้างคลังสินค้าโดยเฉพาะ ประเภทธุรกิจโลจิสติก การจัดสรรพื้นที่ในเขตสีนี้จะง่ายต่อภาคขนส่งอีกด้วย - เขตพื้นที่สีเขียว-ลาย (ขาว-เขียว)
เขตพื้นที่สีเขียวลายนี้ คือ เขตพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและการเกษตรกรรม เป็นพื้นที่ที่มีจำนวนมากหากเทียบทั้งประเทศไทย เพราะแม่การทำเกษตรกรรมที่สุด - เขตพื้นที่สีเขียว
เขตพื้นที่สีเขียวนี้ เป็นเขตสีพื้นที่เพื่อการชนบทและเกษตรกรรม ให้ใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรมได้ สามารถสร้างแบ่งแยกที่ดินได้ 100 วา ตามกฎหมายการจัดสรรที่ดินประเภทนี้เพื่อสนับสนุนที่อยู่อาศัย และการธารณูปโภคเป็นหลัก - เขตพื้นที่สีน้ำเงิน
เขตพื้นที่สีน้ำเงินนี้ ใช้เพื่อสำหรับ สถาบันราชการ การสาธารณูปการ โดยให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการของรัฐ กิจการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะประโยชน์ เท่านั้น
ตัวอย่างเอกสารประกอบการขออนุญาตที่คุณจำเป็นต้องเตรียม
- แบบขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร (แบบ ข.๑)
- สำเนาบัตรประชาชน
สำเนาบัตรประชาชนของ ผู้ขอ อนุญาต จำนวน 1 ชุด
สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดิน จำนวน 1 ชุด - สำเนาโฉนดที่ดิน ที่ทำการก่อสร้าง (ขนาดเท่าตัวจริง) จำนวน 2 ชุด
- แบบแปลน ผังบริเวณและรายการประกอบแปลน (ต้องมีลายเซ็นต์ของสถาปนิกและวิศวกร)
- หนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
- สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
- หนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพ “สถาปัตยกรรม”
(กรณีเข้าข่ายต้องควบคุมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน พ.ร.บ. สถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508) - สำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ “สถาปัตยกรรม”
- หนังสือแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารในที่ดิน (กรณีที่เจ้าของอาคารไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินที่อาคารนั้นตั้งอยู่)
- หนังสือแสดงความยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน
(กรณีที่อาคารก่อสร้างชิดเขตที่ดินน้อยกว่า 50 เช็นติเมตร)
แต่ถ้าหากมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาเรื่องการเตรียมเอกสารรจะไม่ใช่ขั้นตอนที่น่าเบื่ออีกต่อไป อย่าง เจตริน เอ็นจิเนียริ่ง บริษัทรับเหมาก่อสร้างโรงงานจะคอยดูแลให้บริการทั้งด้านคำปรึกษา ออกแบบ และรับสร้างโรงงาน โกดังสำเร็จรูป โรงงานสำเร็จรูป ด้วยนวัตกรรมจาก BLUE Scope (บลูสโคป)ที่นำเข้าจากต่างประเทศ พร้อมทีมงานที่มากประสบการณ์ครอบคลุมหลายด้าน ถ้าคุณสนใจสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อที่ข้อมูลด้านล่างได้ทันที
ติดต่อบริการออกแบบติดตั้งโกดังสำเร็จรูป ที่จอดรถสำเร็จรูป ที่พักคนงานสำเร็จรูป
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ :
Jettarin Engineering Co.,Ltd
Tel. : 092-546-5532
Tel. : +66 75-329-039 (Office)
Line ID : @jet65
Website : www.jettarinengineering.co.th